วงซิมโฟนิคแบนด์ (symphonic band) คืออะไร!??
วงซิมโฟนิคแบนด์ (symphonic band) คือ การนำเอาวงโยธวาทิตมานั่งบรรเลงในลักษณะของคอนเสิร์ต ซึ่งจะเป็นการนำเอาบทเพลงที่มีการเรียบเรียงใหม่มาใช้ในการบรรเลงที่มีลักษณะคล้ายกับวงออร์เคสตรา หรือบางครั้งก็จะเป็นการนำเอาเพลงของวงออร์เคสตรามาเรียบเรียงใหม่แล้วใช้ในการบรรเลง เพื่อที่จะให้เกิดความเหมาะสมกับเครื่องดนตรีที่ใช้ ด้วยลักษณะของการเล่นจึงทำให้ วงซิมโฟนิคแบนด์ (symphonic band) มีชื่อเรียกออีกอย่างหนึ่งว่า วงนั่งบรรเลง (concert band)
โดย วงซิมโฟนิคแบนด์ (symphonic band) มีการพัฒนามาจากวงโยธวาทิต ลักษณะจะเป็นการนั่งบรรเลงแบบคอนเสิร์ท คล้ายกับวงดุริยางค์ซิมโฟนีและมีคลาริเนท B แฟลต เป็นเครื่องหลัก ซึ่งสามารถเทียบได้กับไวโอลินในวงดุริยางค์ซิมโฟนีนั้นเอง โดยวงซิมโฟนิคแบนด์ (symphonic band) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1920 ในส่วนของเครื่องดนตรีที่ใช้ของวงซิมโฟนิคแบนด์ (symphonic band) ได้แก่ กลุ่มเครื่องลมไม้ กลุ่มเครื่องลมทองเหลือง กลุ่มเครื่องเพอคัชฌั่น และซอดับเบิลเบส ซึ่งจะเห็นได้ว่าจะเป็นการเน้นในเรื่องของเครื่องดนตรีประเภทเป่าต่างๆเป็นสิ่งสำคัญ ที่สำคัญวงซิมโฟนิคแบนด์ (symphonic band) จะไม่นำไวโอลิน วิโอลา และเชลโลมาประสมวง ยกเว้นดับเบิลเบส ที่จัดว่าเป็นเครื่องสายชนิดเดียวที่นำมาใช้ในการประสมในวงประเภทนี้ ส่วนใหญ่แล้ววงซิมโฟนิคแบนด์ (Symphonic Band) จะบรรเลงใช้บรรเลงในร่ม ในห้องประชุม หรือห้องจัดแสดงดนตรี
ทั้งหมดนี้คือประวัติและความเป็นมาของ วงซิมโฟนิคแบนด์ (symphonic band) ที่หลายๆคนไม่เคยรู้มาก่อนเกี่ยวกับ วงซิมโฟนิคแบนด์ (symphonic band) ซึ่งต้องยอมรับว่าในทุกวันนี้ วงซิมโฟนิคแบนด์ (symphonic band) กลายเป็นวงดนตรีอีกหนึ่งประเภทที่คนให้ความสนในเป็นจำนวนมากและหันมาเล่นดนตรีในวงแบบนี้มากขึ้น โดยสามารถที่จะสังเกตได้จากจำนวนวงโยธวาทิตที่ของโรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่างๆที่มีจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้แล้วยังจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันมีการเปิดสอนวิชาหรือสาขาเกี่ยวกับดนตรีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งบ่างบอกได้ถึงความนิยมในด้านดนตรีที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ดีในการเล่นวงซิมโฟนิคแบนด์ (symphonic band) จะต้องใช้ทั้งในเรื่องของความอดทนและรู้จักเรียนรู้ ทำความเข้าในในเรื่องของบทเพลงร่วมไปถึงเครื่องดนตรีที่ใช้ เพราะทุกองค์ประกอบของวงนั้นเป็นสิ่งสำคัญขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไปไม่ได้ การเข้าใจอุปกรณ์และการฝึกฝนบ่อยๆจะสามารถช่วยทำให้เกิดความชำนาญและทำให้วงซิมโฟนิคแบนด์ (symphonic band) กลายเป็นวงที่สมบูรณ์
รูปแบบการจัดวงซิมโฟนิค
วงซิมโฟนิค เป็นวงที่เกิดขึ้นมาจากการพัฒนาด้วยการนำวงโยธวาทิตมานั่งบรรเลงเพลงที่เป็นลักษณะคล้ายกับคอนเสิร์ต ด้วยการนำเอาบทเพลงที่เรียบเรียงเสียงประสานที่ใช้สำหรับวงโยธวาทิตมาทำการบรรเลง โดยของวงซิมโฟนิคแบนด์มีลักษณะคล้ายวงออร์เคสตรา ซึ่งต้องบอกว่าในบางครั้งก็มีการนำเอาบทเพลงบรรเลงของวงออร์เคสตรามาทำการเรียบเรียงเสียงประสานใหม่เพื่อที่จะนำมาใช้ให้เหมาะสม
ในการจัดวงและการใช้เครื่องดนตรี จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ
- วงซิมโฟนิคแบนด์ อินด์ ซิมโฟนี (ที่ทำการนั่งบรรเลงบทเพลง) หรือที่บางคนรู้จักกันในชื่อว่า คอนเสริร์ต แบนด์( Concert Band )
- วงมาร์ชชิ่งแบนด์ เป็นลักษณะของวงที่จะต้องการเดินบรรเลง
ส่วนใหญ่แล้วทั้งสองรูปแบบนี้มักจะถูกนำไปไว้ในวงโยธวาทิตในการแข่งขัน หากเป็นในส่วนของวงซิมโฟนิคแบนด์ในการนั่งบรรเลงจะมีรูปแบบของการจัดวงซิมโฟนิคแบนด์ คือ จะเรียงตามประเภทของเครื่องดนตรีที่ใช้ในการบรรเลง ที่ประกอบไปด้วย
- กลุ่มของเครื่องลมไม้ ที่ประกอบไปด้วย แซ็กโซโฟน , บาสซูน , โอโบ , คลาริเนท , ฟลูท และปิคโคโล ที่ส่วนใหญ่แล้วมักจะอยู่ข้างหน้า
- กลุ่มของเครื่องทองเหลือง ที่ประกอบไปด้วย ทรัมเป็ต , ทรอมโบน , ทูบา , ยูโฟเนียม , เฟรนช์ฮอร์นและคอร์เน็ต ที่จะอยู่ส่วนกลาง
- กลุ่มของเครื่องตีประกอบจังหวะ ที่ประกอบไปด้วย กลองทิมปานี , กลองเล็ก , กลองใหญ่ , กิ่ง , มาริมบา , ฉาบ และระฆังราว จะอยู่ในส่วนสุดท้ายของรูปแบบของวงซิมโฟนิคแบนด์
ที่สำคัญที่สุดคือ ผู้อำนวยเพลง หรือที่เรียกกันว่า Conductor ที่จะคอยเป็นผู้ที่ทำการควบคุมจังหวะและปรับความสมดุลของเพลงที่ใช้ในการบรรเลงของวงซิมโฟนิคแบนด์ เพื่อที่จะให้เกิดความสมบูรณ์และเกิดความไพเราะขึ้น และนิยมจัดในรูปแบบของครึ่งวงกลม แต่อย่างไรก็ดีในการจัดรูปแบบของวงซิมโฟนิคแบนด์ก็ขึ้นอยู่กับจำนวนของผู้เล่นและเครื่องดนตรีที่ใช้ด้วยเช่นกัน ทุกองค์ประกอบของวงซิมโฟนิคแบนด์มีส่วนสำคัญที่จะถูกนำมาใช้ในการพิจารณารูปแบบของการวางผังในการงเล่นของวงซิมโฟนิคแบนด์ ทั้งนี้ยังรวมไปถึงในเรื่องของสถานที่ พื้นที่ที่ใช้ในการบรรเลง ที่มีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องกับการจัดรูปแบบของซิมโฟนิค เพราะฉะนั้นแล้วไม่ว่าจะอย่างไรก็ดีทุกสิ่งอย่างล้วนแล้วแต่สำคัญ บทเพลงจะบรรเลงให้ไพเราะได้นั้นก็ขึ้นอยู่กับการถ่ายทอดความหมายผ่านมาทางเสียงเพลงให้ผู้ฟังได้รับรู้ เสียงเพลงสามารถที่จะสร้างความสุขได้ หากเราบรรเลงด้วยใจ